ผ้าซิ่นตีนแดง เป็นผ้าที่หัวซิ่งและตีนซิ่นทอด้วยสีแดง ตอนกลางของซิ่งมักย้อมสีพื้นด้วยเม็ดมะขาม.. มัดหมี่ลวดลายต่างๆ... สีหลักได้แก่ สีเหลือง แดง เขียวหัวเป็ด สีดำ โดยทอทั้งผืน สันนิษฐานว่าเป็นภูมิปัญญาของชาวไทยเชื้อสายลาวที่มีการทอใช้ในคุ้ม พระยาเสนาสงคราม เจ้าเมืองพุทไธสงคนแรก ราว 200 ปีมาแล้ว... ต่อมาเป็นที่นิยมแพร่หลายของชาวเมืองพุทไธสงและกระจายไปอำเภออื่นๆ... ได้รับเลือกเป็น ผ้าเอกลักษณ์ประจำจังหวัดบุรีรัมย์ เมื่อปี 2546
ผ้าหางกระรอกคู่ เดิมเรียกว่า "ผ้าอันลูนเซียม" เป็นผ้าสมัยโบราณ เดิมทอส่งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งสมัยกรุงศรีอยุธยาถึงสมัยรัชกาลที่๕ ใช้ผ้านี้เป็นเบี้ยหวัดของข้าราชการและข้าราชบริภาร จังกวัดบุรีรัมย์ได้มีการคิดค้นพัฒนาลายเมื่อปี ๒๕๔๖ ด้วยการพัฒนาสีให้เป็นสีลายชมพูเปรียบดังสีสิลา ที่ก่อสร้างปราสาทพนมรุ้งและใช้เทคนิคการทอผ้า ๒ หน้า ให้เนื้อผ้ามีมิติดั่งเม็ดทราย ทอด้วยสีควบที่สีต่างกันสลับกับไหมเส้นเดียวสีพื้น เนื้อผ้าเป็นลายทางสีอ่อนๆ คล้ายผ้าพื้น แต่ดูนุ่มฟูราวขนของหางกระรอก
ดังนั้นเพื่อให้จังหวัดบุรีรัมย์มีผ้าที่แสดงถึงเอกลักษณ์และมีความเป็นหนึ่งเดียว (Unique) รวมทั้งสามารถสืบสานภูมิปัญญาดั้งเดิมของจังหวัดไว้ได้ จังหวัดบุรีรัมย์ จึงได้ดำเนินโครงการพัฒนาผ้าลายเอกลักษณ์จังหวัดบุรีรัมย์ขึ้นเพื่อสร้างสรรค์ผ้าเอกลักษณ์ของจังหวัดขึ้น ดดยใช้ชื่อว่า "ผ้าหางกระรอกคู่ตีนแดง" โดยเกิดจากการผสมผสานระหว่างอัตลักษณ์ของทั้งผ้าซิ่งตีนแดงและผ้าหางกระรอกคู่ ให้เกิดความสวยงามเหมาะสม แก่การเป็นผ้าเอกลักษณ์ประจำจังหวัด สามารถใช้ได้ในงานประเพณีและงานสำคัญต่างๆ รวมถึงเป็นการส่งเสริมการใช้ผ้าไทยตามนโยบายของรัฐบาล
![]() |
ผ้าหางกระรอกคูตีนแดง |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น